บล็อกเพื่อเว็บมาสเตอร์
Google Webmaster Blog ฉบับภาษาไทย รับข่าวและข้อมูลจาก Google เรื่องการจัดทำดัชนีเว็บบน Google Search ได้ที่นี่
5 อย่างที่หลายๆคนใช้แท็ก canonical ผิด
วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560
การใส่ลิงก์
rel=canonical
ไว้ในหน้าเว็บเป็นการบอกเครื่องมือค้นหา หรือ Search Engine ว่าคุณอยากให้ Search Engine เอาหน้าเว็บเวอร์ชันไหนไปจัดทำดัชนีเวลาที่คุณมีหน้าเว็บที่ซ้ำๆกันหลายๆหน้า ลิงก์
rel=canonical
ใช้ได้ใน Search Engine จากหลายเจ้ารวมถึง
Yahoo!
,
Bing
และ Google
ลิงก์ rel=canonical จะช่วยรวมพร็อพเพอร์ตี้หรือคุณสมบัติด้านการจัดทำดัชนีจากรายการที่ซ้ำกัน เช่น ลิงก์ขาเข้า และจะช่วยระบุให้เราทราบว่า URL ไหนที่คุณอยากให้แสดงในผลการค้นหาด้วย อย่างไรก็ตาม การใช้ rel=canonical อาจยุ่งยากเล็กน้อยเพราะเวลากำหนดค่าผิดจะเห็นได้ไม่ชัดเจน สังเกตยากนิดหนึ่งค่ะ
ในขณะที่เว็บมาสเตอร์เห็นหน้า “เค้กสีแดง (Red Velvet)” ทางด้านซ้ายในเบราว์เซอร์ของตัวเอง เครื่องมือค้นหาจะเห็น rel=canonical สำหรับ “เค้กสีฟ้า (Blue Velvet)” ทางด้านขวา ซึ่งไม่ใช่หน้าที่เว็บมาสเตอร์อยากจะใช้
ข้างล่างนี้เป็นข้อแนะนำสำหรับการใช้ rel=canonical ค่ะ
เนื้อหาที่ซ้ำกันโดยส่วนใหญ่ในหน้าควรมีอยู่ในเวอร์ชันหลักที่คุณเลือก
วิธีทดลองง่ายๆ คือ ให้ลองจินตนาการว่าคุณไม่เข้าใจภาษาของเนื้อหาบนเว็บ ถ้าคุณเอาหน้าที่ซ้ำกับหน้าหลักที่คุณเลือกไว้ข้างๆ กัน คุณเห็นว่าคำต่างๆ ในหน้าที่ซ้ำแสดงอยู่ในหน้าหลักที่คุณเลือกกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณจำเป็นต้องพูดภาษานั้นได้ถึงจะเข้าใจว่าหน้าทั้งสองนั้นคล้ายกัน เช่น ถ้าทั้ง 2 หน้าพูดถึงหัวข้อที่คล้ายๆ กัน แต่ใช้คำไม่เหมือนกัน Search Engine ก็อาจข้ามการกำหนดหน้าหลักของคุณไป
ตรวจสอบโดยละเอียดว่าเป้าหมายของ rel=canonical นั้นมีอยู่จริง (ใช่งานได้ ไม่มีข้อผิดพลาดหรือ “
soft 404
”)
เช็คให้ชัวร์ว่าเป้าหมายของ rel=canonical ไม่มีเมตาแท็ก robots noindex
ตรวจให้แน่ใจว่าคุณอยากให้ URL ใน rel=canonical แสดงในผลการค้นหาจริงๆ (คุณชอบหน้าที่คุณเลือกมากกว่า URL อื่นๆที่คล้ายกันหรือมีเนื้อหาซ้ำ)
ใส่ rel=canonical ไว้ในส่วน <head> ของหน้าเว็บหรือส่วนหัว HTTP
ระบุ rel=canonical ไว้ไม่เกิน 1 ที่สำหรับหน้าหนึ่งๆ ถ้าระบุไว้มากกว่า 1 ที่ ระบบจะข้าม rel=canonical ไปทั้งหมด
ข้อผิดพลาดที่ 1: rel=canonical ยิงไปหน้าแรกของชุดหน้าที่มีเลขหน้า (paginated series)
ลองจินตนาการว่าคุณมีบทความที่ยาวหลายหน้าดังนี้
example.com/article?story=cupcake-news&page=1
example.com/article?story=cupcake-news&page=2
และต่อไปเรื่อยๆ
การระบุ rel=canonical ในหน้า 2 (หรือหน้าถัดๆ ไป) ให้ยิงไปหน้า 1 เป็นการใช้ rel=canonical ที่ไม่ถูกต้อง เพราะหน้าเหล่านี้ไม่ได้ซ้ำกัน การใช้ rel=canonical ในกรณีนี้จะทำให้ไม่มีการจัดทำดัชนีเนื้อหาในหน้า 2 และหน้าถัดๆ ไปเลย พูดง่ายๆคือหน้า 2 และหน้าถัดๆไปจะไม่ติดอันดับอยู่ในเครื่องมือ Search
เนื้อหาที่ควรจัดทำดัชนี (เช่น “cookies are superior nutrition” และ “to vegetables”) จะหายไปถ้าคุณใส่ rel=canonical ในหน้าอื่นๆแล้วยิงไปที่หน้าแรกของชุดหน้า
ในกรณีของ
เนื้อหาที่มีเลขหน้า
แนะนำให้ระบุ
rel=canonical ในหน้าต่างๆยิงไปที่บนความเวอร์ชันที่มีหน้าเดียว
หรือใช้
มาร์กอัปแบบ rel=”prev” และ rel=”next”
เพื่อกำหนดหน้าที่แล้วและหน้าถัดไป
ใส่ rel=canonical จากหน้าแยกแต่ละหน้ายิงไปที่หน้าดูเนื้อหาทั้งหมด
ถ้าไม่ได้กำหนด rel=canonical ให้อ้างถึงหน้าสำหรับดูเนื้อหาทั้งหมด เนื้อหาที่มีการใส่เลขหน้าสามารถใช้มาร์กอัป rel=”prev” และ rel=”next” ได้
ข้อผิดพลาดที่ 2: เขียน URL แบบเต็มผิดเป็น URL แบบอ้างอิง
แท็ก <link> ก็เหมือนกับแท็ก HTML ส่วนใหญ่ทั่วไปค่ะ คุณสามารถใส่ URL ได้ทั้งแบบอ้างอิงหรือแบบสัมพัทธ์และแบบเต็ม URL สัมพัทธ์มีเส้นทางที่ “สัมพัทธ์” หรืออ้างอิงจากหน้าปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น “images/cupcake.png” เป็นการบอกว่า “จากไดเรกทอรีปัจจุบัน ให้ไปที่ไดเรกทอรีย่อย “images” แล้วไปที่ cupcake.png” URL ที่สมบูรณ์หรือ URL แบบเต็มจะระบุเส้นทางทั้งหมด ซึ่งรวมถึงชุดรูปแบบอย่างเช่น http://
การระบุ <link rel=canonical href=“example.com/cupcake.html” /> (เป็น URL สัมพัทธ์เนื่องจากไม่มี “http://”) บ่งบอกว่า URL หลักที่ต้องการคือ http://example.com/example.com/cupcake.html แม้ว่าเราจะเกือบแน่ใจได้ 100 เปอร์เซนต์ว่าคุณไม่ได้ต้องการอย่างนั้น ในกรณีเหล่านี้อัลกอริทึมอาจมองข้าม rel=canonical ที่ระบุไว้ไป สรุปแล้วอะไรก็ตามที่คุณพยายามจะเซ็ทผ่านการใช้ rel=canonical นี้ก็จะไม่เกิดผลค่ะ
ข้อผิดพลาดที่ 3: การประกาศ rel=canonical โดยไม่ได้ตั้งใจหรือการประกาศหลายครั้ง
บางครั้งเราเห็นการกำหนด rel=canonical ที่เราเชื่อว่าเกิดจากความไม่ตั้งใจ เราพบการพิมพ์ผิดเล็กๆ น้อยๆเป็นบางครั้ง แต่ที่พบบ่อยจริงๆแล้วคือ การที่เว็บมาสเตอร์งานยุ่งจนลืมเปลี่ยนเป้าหมายของ rel=canonical เมื่อคัดลอกเทมเพลตของหน้ามาจากหน้าอื่นๆ ในตัวอย่างข้างล่างคุณจะเห็นว่าหน้าต่างๆ ของเจ้าของไซต์ระบุ rel=canonical ดันยิงไปที่เว็บของผู้สร้างเทมเพลตไปหมดแล้ว
หากคุณใช้เทมเพลต ให้ตรวจดูว่าไม่ได้คัดลอกการระบุ rel=canonical มาด้วย
อีกปัญหาหนึ่งก็คือเมื่อหน้าเว็บมีลิงก์ rel=canonical หลายรายการที่ยิงไปที่ URL ต่างๆ กัน ปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยเมื่อมีการใช้งานร่วมกับปลั๊กอินด้าน SEO ที่มักแทรกลิงก์ rel=canonical ไว้โดยค่าเริ่มต้น โดยที่ผู้ดูแลเว็บที่ติดตั้งปลั๊กอินไม่รู้ตัวว่ามีการกำหนด rel=canonical ในกรณีที่มีการประกาศ rel=canonical หลายครั้ง Google มีแนวโน้มที่จะข้ามการแนะนำ rel=canonical ทั้งหมด ประโยชน์ใดๆ ที่อาจได้จากการใช้ rel=canonical อย่างถูกต้องก็จะหายไปด้วย
ในทั้ง 2 กรณีนี้ การตรวจสอบซอร์สโค้ดของหน้าเว็บโดยละเอียดจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ อย่าลืมตรวจสอบส่วน <head> ให้ครบทั้งหมดเนื่องจากลิงก์ rel=canonical อาจกระจายอยู่ในตำแหน่งต่างๆได้
ตรวจสอบลักษณะการทำงานของปลั๊กอินโดยดูซอร์สโค้ดของหน้า
ข้อผิดพลาดที่ 4: หน้าหมวดหมู่หรือหน้า Landing Page ยิง rel=canonical ไปที่บทความแนะนำ
สมมติว่าคุณทำเว็บไซต์เกี่ยวกับขนมหวาน เว็บขนมหวานนี้มีหน้าหมวดหมู่หลักๆ เช่น “ขนมอบ (Pastry)” และ “เจลาโต (Gelato)" ในแต่ละวันหน้าหมวดหมู่จะแสดงบทความที่ไม่ซ้ำของเดิม เช่น หน้า Landing Page ของขนมอบอาจนำเสนอ “คัพเค้กสีแดง (Red Velvet Cupcake)” และเนื่องจากหน้าหมวดหมู่ “ขนมอบ” มีเนื้อหาเกือบทั้งหมดเหมือนหน้า “คัพเค้กสีแดง” คุณจึงเพิ่ม rel=canonical ในหน้าหมวดหมู่ให้ยิงไปที่แต่ละบทความที่แนะนำ
ถ้าเรายอมรับ rel=canonical นี้ หน้าหมวดหมู่ขนมอบจะไม่ขึ้นในผลการค้นหา ซึ่งเป็นเพราะ rel=canonical บอกเราว่าคุณอยากให้เครื่องมือค้นหาแสดง URL หลักแทนหน้าที่ซ้ำ อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณต้องการให้ผู้ใช้ค้นพบทั้งหน้าหมวดหมู่และบทความที่แนะนำ ก็ควรจะใส่ rel=canonical ที่อ้างถึงตัวเองในหน้าหมวดหมู่อย่างเดียวเท่านั้น หรือไม่ต้องระบุอะไรเลย
อย่าลืมว่าการกำหนด rel=canonical ยังบอกถึง URL ที่คุณต้องการให้แสดงอีกด้วย ให้หลีกเลี่ยงการเพิ่มให้ rel=canonical ในหน้าหมวดหมู่หรือหน้า Landing Page อ้างถึงบทความแนะนำ
ข้อผิดพลาดที่ 5: ใส่ rel=canonical ในส่วน <body>
แท็กลิงก์ rel=canonical ควรจะอยู่เฉพาะในส่วน <head> ของไฟล์ HTML เท่านั้น นอกจากนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแยกวิเคราะห์ HTML คุณควรใส่ rel=canonical ไว้ในส่วน <head> ให้อยู่ก่อนโค้ดอื่นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากพบการกำหนด rel=canonical ในส่วน <body> ระบบจะไม่สนใจโค้ดนี้
นี่เป็นข้อผิดพลาดที่แก้ไขได้ง่าย เพียงตรวจสอบโดยละเอียดว่าลิงก์ rel=canonical อยู่ในส่วน <head> ของหน้าเสมอ และให้อยู่ก่อนโค้ดอื่นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ระบบจะดำเนินการกับการกำหนด rel=canonical ในส่วน <head> ไม่ใช่ในส่วน <body>
สรุป
หากต้องการใช้ rel=canonical ให้เป็นประโยชน์มาก อันนี้คือข้อแนะนำของเราค่ะ
ตรวจสอบว่าเนื้อหาหลักที่เป็นข้อความในหน้าที่ซ้ำนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วปรากฏในหน้าหลักที่คุณจะเลือกด้วย
ตรวจสอบว่ามีการระบุ rel=canonical เพียงครั้งเดียว (ถ้ามีการระบุไว้) และอยู่ในส่วน <head> ของหน้า
ตรวจสอบว่า rel=canonical ชี้ไปยัง URL ที่มีอยู่ และมีเนื้อหาที่ถูกต้อง (ไม่ใช่ 404 หรือที่แย่กว่านั้นคือ Soft 404)
หลีกเลี่ยงการระบุให้ rel=canonical ในหน้า Landing Page หรือหน้าหมวดหมู่ยิงไปที่บทความแนะนำ เนื่องจากจะทำให้บทความแนะนำนั้นกลายเป็น URL ที่ต้องการให้แสดงในผลการค้นหา
เช่นเคยค่ะ ถ้ามีคำถามเพิ่มเติม เจอกันที่
ชุมชนออนไลน์เว็บมาสเตอร์ที่ g.co/ThaiWebmasterForum
ได้เลยนะคะ
---
โพสท์ต้นฉบับ “
5 common mistakes with rel=canonical
” (โดย Allan Scott, Software Engineer, Indexing Team เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2556)
Label
การจัดดัชนี
ความปลอดภัย
ความเร็ว
คุณภาพ
ตรวจเว็บ
เนื้อหาซ้ำ
ประกาศ
มือถือ
ย้ายเว็บ
เริ่มต้น
ลิงค์
อันดับ
แฮ็ก
Analytics
audit
basic
canonical
chrome
Google Images
hack
https
index
light house
link
mobile
quality
ranking
search console
security
speed
Archive
2020
พ.ย.
ก.ย.
ส.ค.
ก.ค.
มิ.ย.
พ.ค.
เม.ย.
มี.ค.
ก.พ.
2019
พ.ย.
ต.ค.
ก.ย.
2018
ต.ค.
ก.ค.
มิ.ย.
เม.ย.
ก.พ.
ม.ค.
2017
ธ.ค.
ต.ค.
5 อย่างที่หลายๆคนใช้แท็ก canonical ผิด
ก.ย.
ส.ค.
ไม่พลาดอัพเดทใหม่
ติดตามเราผ่าน E-mail!
Enter your email address:
Delivered by
FeedBurner
มีข้อสงสัย หรือคำถามคุยกันได้ที่
ชุมชนออนไลน์เว็บมาสเตอร์